แรงจูงใจ
ความหมายของแรงจูงใจ
Robbins
and Judge (2017: 247) ระบุว่า “แรงจูงใจ (Motivation)”
คือ กระบวนการที่แสดงถึงความตั้งใจ ทิศทางและความต่อเนื่องของความพยายามของบุคคลเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
นิติพล ภูตะโชติ (2560: 184) ระบุว่า
“การจูงใจ” หมายถึง เป็นพลังที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
และเป็นแรงผลักดันให้คนแสดงพฤติกรรมต่างๆออกมา เป็นเรื่องของการกระตุ้นทำให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมหรือเกิดการกระทำ
เพื่อให้บรรลุถึงความต้องการ ความปรารถนา ผลตอบแทน หรือเป้าหมายตามที่บุคคลต้องการ
รัตติกรณ์ จงวิศาล (2560: 69) ระบุว่า
เมื่อกล่าวถึงแรงจูงใจ มักมีคำที่เกี่ยวข้องหลายคำ เช่น
·
ความต้องการ (Needs) เป็นสภาวะการขาดสมดุลบางอย่างของบุคคล อาจเป็นทางด้านร่างกาย เช่น อาหาร
หรือ ด้านจิตใจ เช่น การยอมรับ ชื่อเสียง
·
แรงขับ (Drives) เป็นสิ่งเร้าหรือแรงผลักดันที่เกิดจากความต้องการ
ซึ่งจะกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
เพื่อตอบสนองความต้องการนั้น
·
สิ่งจูงใจ (Incentives) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลดึงดูด กระตุ้น
หรือผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตามเป้าหมายที่ต้องการ
โดยสรุป
“แรงจูงใจ” หมายถึง กระบวนการหรือความต้องการที่มีพลังในการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
ความสำคัญของแรงจูงใจ
การจูงใจก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ
ได้แก่ (ธนวรรธ
ตั้งสินทรัพย์ศิริ, 2550: 129)
1)
บุคคลมีความภาคภูมิใจในหน้าที่การงานที่ทำอยู่
2)
บุคคลให้ความร่วมมือในการทำงานอย่างเต็มที่
3)
บุคคลรู้จักหน้าที่ของตนและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
4)
บุคคลมีความสนใจในการสร้างสรรค์และรับผิดชอบในงานของตนเองเต็มที่
5)
บุคคลมีความสนใจและพึงพอใจที่จะทำงานนั้น
ทฤษฎีแรงจูงใจ
ทฤษฏีความต้องการลำดับขั้น
เป็นทฤษฎีของนักจิตวิทยาชื่อ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจที่สำคัญ คือ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์
ในปี ค.ศ. 1943 (Kinicki & Fugate, 2018:
164) ถือเป็นทฤษฎีจูงใจแรกๆที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างกว้างขวาง
(ฐาปนา ฉิ่นไพศาล, 2559: 10-6)
โดยทฤษฎีระบุความต้องการของมนุษย์จากขั้นต่ำสุดขึ้นไปสู่ขั้นสูงสุด
ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 ลำดับขั้น ได้แก่
1)
ความต้องการทางกายภาพ (Physical needs)
ถือเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย ความสะดวกสบาย เป็นต้น
2)
ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs)
เป็นความต้องการทางด้านความปลอดภัยในชีวิต
เช่น ความมั่นคงในหน้าที่การงาน ปลอกภัยจากอันตรายต่างๆ ไม่มีความเจ็บป่วย เป็นต้น
3)
ความต้องการทางสังคม (Social needs)
เป็นความต้องการด้านมิตรภาพ
ความรัก ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ต้องการเป็นสมาชิกของกลุ่มหรือทีม
มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
4)
ความต้องการการยกย่อง (Esteem needs)
เป็นความต้องการให้บุคคลอื่นยกย่อง
สรรเสริญ ต้องการมีชื่อเสียง เกียรติยศ โดยการสร้างความสำเร็จในชีวิตในด้านต่างๆ
5)
ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (Self-actualization
needs)
ถือเป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์
โดยการใช้ความพยายาม ทักษะ
และศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองให้เกิดผลสำเร็จดังที่มีความคาดหวัง
ดังนั้น
ผู้บริหารในองค์การต้องมีวิธีการในการสร้างแรงจูงใจพนักงานในองค์การ
ซึ่งผลงานในการปฏิบัติงาน จะเกิดจากความสามารถของพนักงาน แรงจูงใจ
และปัจจัยสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยการจูงใจจะแบ่งได้ 2 แบบ ได้แก่ การจูงใจภายใน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการภายในของบุคคลหรือทัศนคติที่ดี
และการจูงใจภายนอก ซึ่งมักจะหมายถึง เครื่องล่อใจ เช่น รางวัล การชมเชย การลงโทษ
เป็นต้น
แบบจำลองในเรื่องการจูงใจ
จะเริ่มจากการมีสิ่งเร้าที่สร้างความต้องการเป็นอันดับแรก แล้วเกิดแรงจูงใจจนนำไปสู่การมีพฤติกรรมตอบสนอง
ส่วนทฤษฎีแรงจูงใจมีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีความต้องการลำดับขั้นของมาสโลว์
ที่ระบุความต้องการของมนุษย์ที่มี 5 ลำดับขั้น
จากความต้องการทางร่างกาย ไปสู้ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการทางสังคม
ความต้องการการยกย่อง และสุดท้ายคือความต้องการความสำเร็จในชีวิต
ทฤษฎีความคาดหวังของวรูมที่ระบุองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน คือ
ความคาดหวัง เครื่องมือ และคุณค่า เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น